เทคโนโลยี การปรับปรุงคุณภาพและเปลี่ยนสภาพ ก๊าซชีวภาพเป็นไบโอมีเทน และไบโอมีเทนเหลว
ผู้นำการพัฒนาเทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพเป็นไบโอมีเทนเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
ก๊าซมีเทนและผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ก๊าซมีเทนคืออะไร?
ก๊าซมีเทนเกิดในสภาพแวดล้อมแบบไร้อากาศ ทั้งในสภาวะควบคุม เช่น ถังหมักก๊าซชีวภาพ หรือ สภาวะไม่ควบคุม (บ่อบำบัดน้ำเสียแบบเปิด) โดยเกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ในเศษวัสดุทางการเกษตร มูลสัตว์ ขยะชุมชน น้ำเสียอุตสาหกรรม เป็นต้น
ศักยภาพการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (GWP)
ก๊าซมีเทน (CH4) เป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ที่มีผลกระทบอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีความรุนแรงมากถึง 28-30 เท่าเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ผลดีต่อสิ่งแวดล้อมจากการประยุกต์ใช้ไบโอมีเทน
ช่วยจัดการขยะและของเสีย อย่างถูกสุขลักษณะและมีประสิทธิภาพ
ช่วยลดมลพิษทางอากาศ และลดปัญหาเรื่องกลิ่น
คุณสมบัติของก๊าซชีวภาพ
ค่าความร้อน: 20-25 MJ/kg
ความหนาแน่น: 1.15 kg/m3
การประยุกต์ใช้ไบโอมีเทน
ก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG)
เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกและเชื้อเพลิงสะอาด สำหรับรถขนส่งทางบก
ใช้ผลิตความร้อนหรือผลิตไฟฟ้าความร้อนร่วม สำหรับอุตสาหกรรม
ไบโอมีเทนเหลว (LBG)
เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกและเชื้อเพลิงสะอาด สำหรับรถขนส่งการบก และทางเรือ
ใช้ผลิตความร้อนหรือผลิตไฟฟ้าความร้อนร่วม สำหรับอุตสาหกรรม
มีศักยภาพควบคุมต้นทุนการขนส่งระยะไกลได้ดีกว่า CBG
การใช้ไบโอมีเทนเป็นเชื้อเพลิงทดแทนสำหรับกิจการที่ต้องการลดการปล่อยคาร์บอน
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การนำไบโอมีเทนมาใช้ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้โดยตรง เนื่องจากมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ โดยการนำก๊าซมีเทนจากกระบวนการบำบัดน้ำเสีย/ของเสีย มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรูปแบบเชื้อเพลิงทดแทน จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (มีเทน) สู่บรรยากาศและช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอีกทางหนึ่ง
การใช้งานไบโอมีเทนอัด
การใช้งานไบโอมีเทนเหลว
เป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน
ไบโอมีเทนผลิตจากทรัพยากรหมุนเวียนและของเหลือทิ้งจากกิจกรรมต่างๆ เช่น กระบวนการบำบัดน้ำเสีย เศษวัสดุการเกษตร มูลสัตว์ ของเสีย และขยะอินทรีย์จากชุมชน ทำให้ไบโอมีเทนเป็นทางเลือกทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ยั่งยืน
ขอบเขตการให้บริการของเรา
ให้บริการปรึกษาและบริการด้านวิศวกรรมเพื่อพัฒนาโครงการก๊าซชีวภาพเป็นไบโอมีเทน ทั้งในรูปแบบ CBG และ LBM
การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการปรับปรุงก๊าซชีวภาพเป็นไบโอมีเทน
การประเมินและการเลือกใช้เทคโนโลยีในการผลิตไบโอมีเทนที่เหมาะสม
การออกแบบทางวิศวกรรม (โยธาและโครงสร้าง เครื่องกล ไฟฟ้าและการควบคุม สาธารณูปโภคของโรงงานและความปลอดภัย)
จัดหาอุปกรณ์หลักในกระบวนการปรับปรุงก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตเป็นไบโอมีเทน ควบคุมบริหารการก่อสร้างโรงงานและการติดตั้งอุปกรณ์ การตรวจรับอุปกรณ์ การทดสอบการทำงานและสมรรถนะของระบบผลิตไบโอมีเทน การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน