1. วัตถุดิบของระบบการผลิตก๊าซชีวภาพ จากน้ำเสีย/ กากสารอินทรีย์ในโรงงานอุตสาหกรรม
ของเสียจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น น้ำเสีย และกากสารอินทรีย์ ซึ่งเป็นของเสียที่มีความเข้มข้นของสารอินทรีย์สูง สามารถเป็นวัตถุดิบของการผลิตก๊าซชีวภาพได้ โดยกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพต้องอาศัยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม
2. เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบผลิตก๊าซชีวภาพ จากน้ำเสีย/กากสารอินทรีย์ในโรงงานอุตสาหกรรม
เทคโนโลยี Completely Stirred-Tank Reactor (CSTR) เป็นระบบที่มีการกวนผสมภายในถังปฏิกรณ์อย่างทั่วถึง และเป็นกระบวนการย่อยสลายที่มีประสิทธิภาพสูง และป้องกันการเกิดเศษตะกอนลอยที่ระดับน้ำ (Scum) รวมทั้งป้องกันการตกตะกอน (Sediment) ด้านล่างของถังปฏิกรณ์ นอกจากนี้แล้วยังช่วยลดความเข้มข้นของสารอาหารให้มีค่าลดลงจนไม่ก่อปัญหาเป็นพิษต่อระบบ
เทคโนโลยี Modified Covered Lagoon (MCL) พัฒนามาจากระบบบำบัดน้ำเสียดั้งเดิมแบบบ่อเปิดที่เรียกว่า Anaerobic Pond ที่แก้ปัญหาการตกตะกอนที่ก้นบ่อ โดยกระบวนการเริ่มต้นโดยการป้อนน้ำเสียจากระดับล่างของบ่อ และน้ำเสียจะไปผสมกับจุลินทรีย์ สารอินทรีย์และจุลินทรีย์มีการกวนผสมอัตโนมัติโดยผ่านกลไกการทำงานของระบบวาล์วและระบบท่อป้อนน้ำเสีย ทำให้การตกตะกอนของสลัดจ์จะถูกรวบรวมไว้ที่ด้านท้ายของบ่อ เพื่อนำกลับไปหมุนเวียนในระบบผลิตก๊าซชีวภาพหรือส่งตะกอนไปจัดการในระบบขั้นหลังต่อไป ช่วยลดการสะสมของตะกอนภายในบ่อ ทำให้ประสิทธิภาพของระบบไม่ลดลง
ถังปฏิกรณ์สองขั้นตอน (CSTR และ MCL) มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีผลิตก๊าซชีวภาพแบบ CSTR ร่วมกับ MCL เป็นขั้นตอนที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ข้อดีของการออกแบบลักษณะนี้ทำให้มีประสิทธิภาพในการย่อยสารอินทรีย์ และเกิดการผลิตก๊าซชีวภาพที่มากขึ้น และสามารถบำบัดน้ำเสียได้มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีความยืดหยุ่นในการเก็บสำรองก๊าซชีวภาพและการนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์
3. การนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันจากปาล์ม
โรงงานอุตสาหกรรมผลิตเอทานอล
โรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง
โรงงานอุตสาหกรรมยางพารา
โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
4. ระบบผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ และน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
28 ตุลาคม 2565
ผู้ชม 3682 ครั้ง