ก๊าซชีวภาพที่ได้จากกระบวนการผลิตจะมีส่วนประกอบของก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และก๊าซชนิดอื่นๆ รวมถึงความชื้นและไอน้ำ ซึ่งเมื่อก๊าซ ความชื้น และไอน้ำรวมตัวกัน จะกลายเป็นกรดที่สามารถกัดกร่อนวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบ ทำให้เกิดความเสียหาย ส่งผลให้เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่
หลักการทำงานของระบบทำความเย็นแบบอัดไอ
การทำให้ก๊าซชีวภาพเย็นตัวลงจนถึงจุดควบแน่น (Dew Point) ประมาณ 10 -15 °C ความชื้นในก๊าซชีวภาพ จะควบแน่นกลั่นตัวเป็นหยดน้ำแยกออกจากก๊าซ ส่งผลให้ความชื้นในก๊าซชีวภาพลดลง ก๊าซชีวภาพที่มีความชื้นสูง จะไหลเข้าไปยังชุดควบแน่นความชื้นที่มีน้ำเย็นไหลผ่านซึ่งมีอุณหภูมิต่ำ ความชื้นจะควบแน่นออกมาเป็นหยดน้ำไหลออกทางด้านล่าง ส่วนก๊าซชีวภาพที่แห้งจะไหลออกไปยังอุปกรณ์ใช้ประโยชน์ต่อไป และน้ำเย็นก็จะไปแลกเปลี่ยนความร้อนกับสารทำความเย็นต่อไป
คุณสมบัติทั่วไป
เครื่องทำน้ำเย็น (Chiller) ประสิทธิภาพสูง มีทั้งแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ และแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ
ชุดแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ประสิทธิภาพสูง ใช้วัสดุที่สามารถนำความร้อนได้ดี ทนต่อการกัดกร่อน
มีระบบระบายน้ำอัตโนมัติ (Auto-drain) ช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำงาน
ประกอบ และติดตั้งมาเป็นชุดสำเร็จรูป (Compact Set) พร้อมติดตั้ง
02 พฤศจิกายน 2565
ผู้ชม 2162 ครั้ง